ฮามาส-อิสราเอล ปะทะเดือดวันที่ 3 ผู้เสียชีวิตทะลุหลักพัน

จุดที่ดุเดือดที่สุดอยู่ทางตอนใต้ของอิสราเอลที่ติดกับชายแดนฉนวนกาซา โดยขณะนี้มีรายงานว่า การต่อสู้ของ 2 ฝ่ายอย่างเกิดขึ้นหลายจุดหลังจากนั้น อิสราเอลก็ประกาศว่าอยู่ในภาวะสงคราม ก่อนจะโจมตีทางอากาศอย่างหนักในพื้นที่ฉนวนกาซา ซึ่งเป็นแหล่งกบดานของกลุ่มฮามาส รวมถึงมีการส่งสัญญาณด้วยว่าอาจส่งกองกำลังภาคพื้นดินเข้าไป

ตอนนี้จำนวนผู้เสียชีวิตของทั้งสองฝั่งเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดโฆษกของฮามาสออกมาประกาศว่าจับตัวประกันได้เพิ่มเติม

ทหารกองหนุนอิสราเอล 1 แสนนาย รวมพลใกล้ฉนวนกาซา

อิสราเอล ปิดล้อม "ฉนวนกาซา" ทุกด้าน ตัดน้ำ-ตัดไฟฟ้า –อาหาร

พื้นที่ที่กลุ่มฮามาสและกองทัพอิสราเอลยังคงปะทะกันอยู่ การต่อสู้หลักๆ อยู่ทางตอนใต้ของประเทศ ติดกับพรมแดนของฉนวนกาซา เช่น ไซคิม (Zikim) ซีเดฮอต (Sderot) ยาคินี (Yakhini) คฟาร์ อซา (Kfar Aza) เบ’เอรี (Be’eri) คิปบุชต์หรือชุมชนเรม (Reim) และ ซุฟา (Sufa)

การปะทะกันต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 เกิดขึ้นหลังจากเมื่อวันเช้าวันเสาร์ที่ 7 ต.ค.ที่ผ่านมา กลุ่มฮามาสได้เปิดฉากโจมตีทางอากาศต่ออิสราเอลด้วยการยิงขีปนาวุธกว่า 5,000 ลูกออกมาจากฉนวนกาซา

จากนั้นชุดปฏิบัติการขนาดเล็กของฮามาสหลายสิบชุด ก็ฝ่ากำแพงและจุดผ่านแดนเข้ามาบุกโจมตีฐานทหารอิสราเอลที่หมู่บ้านไซคิม (Zikim) และอาคารบัญชาการหน่วยทหารอิสราเอลในหมู่บ้านเรม (Reim)นอกจากเข้าสังหารประชาชนและทหารอิสราเอลแล้ว กลุ่มฮามาสได้จับตัวประกันซึ่งมีทั้งทหาร พลเรือนชาวอิสราเอล และต่างชาติไปเป็นจำนวนมากก่อนจะข้ามฝั่งกลับไปที่ฉนวนกาซา

พื้นที่หนึ่งที่กลุ่มฮามาสสังหารหมู่และจับตัวประกันไปเป็นจำนวนมาก คือทะเลทรายคิบบุตช์ ซึ่งเป็นสถานที่จัดเทศกาลดนตรี

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า พบศพชาวอิสราเอลอย่างน้อย 260 ศพในที่จัดงาน โดยบรรดาผู้เสียชีวิตนั้นมีตั้งแต่ชนชั้นสูงของอิสราเอล เช่น นายพลทหารหน่วยคอมมานโด อดีตนักฟุตบอลทีมชาติ ไปจนถึงประชาชนคนทั่วไป ทั้งชายและหญิง ทั้งเด็กและผู้ใหญ่

นี่คือการรุกเข้าแผ่นดินอิสราเอลครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 50 ปี ทำให้นายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮู ผู้นำอิสราเอลออกมาประกาศว่า ประเทศกำลังอยู่ในภาวะสงคราม ตามมาด้วยการประชุมของคณะรัฐมนตรีที่ให้อำนาจพิเศษกับกองทัพในการจัดการกับกลุ่มฮามาส การต่อสู้ดำเนินมาเข้าสู่วันที่ 3 แล้ว แต่กองทัพอิสราเอลยังไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ในพื้นที่ได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด

การต่อสู้กับกลุ่มฮามาสยังคงดำเนินอยู่ในหลายจุดตามแผนที่การที่อิสราเอลยังไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดส่วนหนึ่งเป็นเพราะนักรบฮามาสยังคงแทรกซึมเข้าแผ่นดินอิสราเอลได้ หลังกำแพงบางจุดที่กั้นฉนวนกาซาถูกทำลาย

ฉนวนกาซามีพื้นที่ประมาณ 360 กิโลเมตร ทางตะวันตกเฉียงใต้ติดกับอียิปต์ ทางเหนือและตะวันออกติดกับประเทศอิสราเอล และทางตะวันตกติดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

ที่นี่เป็นที่อยู่อาศัยของชาวปาเลสไตน์กว่า 2 ล้านคน แต่คนเหล่านี้ไม่มีสิทธิเหนือดินแดน เนื่องจากฉนวนกาซาถูกอิสราเอลยึดไว้หลังชนะสงครามกับโลกอาหรับในปี 1967

ในช่างทศวรรษที่ 1970 องค์กรเพื่อปลอดปล่อยปาเลสไตน์ หรือ PLO ถูกก่อกำเนิดขึ้นเพื่อเรียกร้องดินแดนคืน

ปี 1993 ยิตซัก ราบิน นายกรัฐมนตรีอิสราเอล จับมือกับยัสเซอร์ อาราฟัต ผู้นำกลุ่ม PLO ลงนามข้อตกลงออสโล อนุญาตให้ชาวปาเลสไตน์มีอำนาจในการปกครองตัวเอง (อย่างจำกัด) ในเขตฉนวนกาซา

แต่สถานการณ์เปลี่ยนไปเมื่อกลุ่มฮามาสผงาดขึ้นมาฮามาสไม่เชื่อในแนวทางประนีประนอม ความแข็งกร้าวเพื่อเอาดินแดน คืนทำให้ฮามาสเอาชนะ PLO ซึ่งเป็นชื่อเป็นกลุ่มฟาตาห์ ในการเลือกตั้งที่จัดขึ้นในปี 2006 กลายมาเป็นผู้ปกครองในฉนวนกาซาได้

อิสราเอลโต้กลับทันทีด้วยการปิดล้อมฉนวนกาซา มีการสร้างรั้วตามแนวชายแดน รวมถึงตั้งด่านความมั่นคงเพื่อควบคุมการ เข้าออกด่านความมั่นคงและกำแพงบางส่วนถูกฮามาสทำลายไปเมื่อวันเสาร์ที่ 7 ตุลาคมที่ผ่านมา ซึ่งเป็นวันแรกที่ฮามาสเปิดการโจมตี

ผ่านมาเกือบ 3 วัน อิสราเอลยังไม่สามารถควบคุมพื้นที่ได้อย่างเบ็ดเสร็จเนื่องจากฮามาสสามารถส่งกำลังเข้ามาแทรกซึมได้อย่างต่อเนื่องหลังกำแพงและด่านถูกทำลาย

เมื่อคืนที่ผ่านมา ( 8 ต.ค.)โฆษกของฮามาสประกาศว่า กำลังพลชุดใหม่ยังสามารถเข้าพื้นที่ได้เพื่อส่งอาวุธ รวมถึงสับเปลี่ยนกำลังกับชุดเดิมที่เข้ามาก่อนหน้า โดยการที่ฮามาสยังแทรกซึมเข้ามาได้อาจเป็นเหตุผลที่ทำให้การสู้รบยังดำเนินไปในหลายจุด เช่นที่เมืองแอชเคลอน

ทหารอิสราเอลที่พยายามสกัดเป้าหมายที่เชื่อว่าเป็นกองกำลังฮามาส โดยคนที่ถ่ายภาพนี้คือประชาชนที่สัญจรผ่านจุดดังกล่าว สำหรับในเมืองแอชเคลอน โฆษกฮามาสยังอ้างด้วยว่า สามารถยึดทางตอนใต้ของเมืองไว้ได้ตั้งแต่เมื่อวานนี้ และได้จับตัวประกันเพิ่มอีก หลังจากจับไปได้แล้วจำนวนหนึ่งเมื่อเสาร์ที่ 7 ตุลาคมซึ่งเป็นวันแรกของการปฏิบัติการ

ในส่วนของตัวประกันที่ถูกกลุ่มฮามาสจับไป ทางอิสราเอลยังไม่ออกมายืนยันจำนวนที่ชัดเจนโดยในช่วง 2 วันที่ผ่านมา มีภาพวิงวอนขอร้องออกมาอย่างต่อเนื่องจากครอบครัวของตัวประกันโยนิ อาเชอร์ คือหนึ่งในญาติของผู้ที่ถูกกลุ่มฮามาสจับตัวไป โดยคนที่ถูกจับตัวไปเป็นภรรยาและลูกสาวสองคน ซึ่งอายุเพียง 2 ขวบและ 5 ขวบเท่านั้นภรรยาและลูกๆ ของอาเชอร์ถูกจับเข้าไปเป็นเชลยในฉนวนกาซาพร้อมๆ กับทหารอิสราเอล

โดยก่อนถูกจับภรรยาของอาเชอร์เล่าว่า มือปืนของกลุ่มฮามาสอยู่ในบ้านที่เธอพักอยู่ ก่อนที่สายสนทนาจะถูกตัดไปจากนั้นอาเชอร์ก็เห็นภาพภรรยาและลูกบนโซเชียลมีเดีย ขณะที่ถูกจับตัวเป็นเชลยและถูกพาเข้าไปยังฉนวนกาซา

ชายรายนี้เชื่อว่ารัฐบาลและกองทัพจะพาภรรยาและลูกผู้เป็นที่รักกลับมาได้ ขณะเดียวกันก็ได้ขอร้องกลุ่มฮามาสไม่ให้ทำร้ายภรรยาและเด็กๆ และถ้าต้องการแลกตัวประกันโดยเปลี่ยนเป็นตัวเขา เขาก็ยินดีจะทำ

หลังจากการต่อสู้อย่างหนักหน่วงตลอดทั้งสามวันที่ผ่านมาจนทำให้มีผู้เสียชีวิตพุ่งทะลุหลักพันราย รวมถึงมีผู้ถูกลักพาตัวไปเป็นตัวประกันในฉนวนกาซาอีกจำนวนมาก ล่าสุดวันนี้ ทางการอิสราเอลได้นำรถถังเข้าประจำการบริเวณชายแดนฉนวนกาซาเพื่อเตรียมบุกเข้าช่วยตัวประกันและจัดการกับกลุ่มฮามาส

หลังจากการต่อสู้อย่างหนักหน่วงตลอดทั้งสามวันที่ผ่านมาจนทำให้มีผู้เสียชีวิตพุ่งทะลุหลักพันราย รวมถึงมีผู้ถูกลักพาตัวไปเป็นตัวประกันในฉนวนกาซาจำนวนมาก

ล่าสุดเมื่อช่วงเวลาประมาณ 16.00 น. วันที่ 9 ต.ค.ที่ผ่านมาตามเวลาบ้านเรา กองทัพอิสราเอลได้ประกาศว่าสามารถยึดคืนพื้นที่ที่ถูกกลุ่มฮามาสยึดครองตั้งแต่เมื่อวันเสาร์ทั้งหมดสำเร็จ และไม่มีการตอนสู้เกิดขึ้นบนแผ่นดินอิสราเอลแล้ว

โดยทางการอิสราเอลได้ประจำการรถถังและกำลังพลในหลายเขต นี่คือภาพกองทัพอิสราเอลที่ประจำการอยู่ใกล้กับเขตแอชเคลอนในฉนวนกาซา หลังอิสราเอลประกาศระดมกำลังพลสำรองกว่า 300,000 นาย

ภาพของกองทัพอิสราเอลที่ถูกส่งไปประจำการในเขตซีเดฮอต หลังจากที่เข้าควบคุมพื้นที่สำเร็จ

ขณะเดียวกัน เมื่อช่วง 17.00 น.ที่ผ่านมาตามเวลาบ้านเรา โยอาฟ แกลลันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอิสราเอล ได้ประกาศคำสั่งปิดล้อมฉนวนกาซาแบบสมบูรณ์ โดยจะไม่มีการส่งกระแสไฟฟ้า น้ำ และอาหารเข้าไปยังพื้นที่ฉนวนกาซา

ชะตกกรรมของชาวปาเลสไตน์กว่า 2 ล้านคนกำลังถูกจับตามองด้วยความกังวล รัฐมนตรีกลาโหมอิสราเอลระบุว่า นี่คือวิธีที่อิสราเอลใช้ในการต่อสู้กับกลุ่มคนป่าเถื่อน

แต่ความสูญเสียไม่ได้มีเฉพาะในฝั่งอิสราเอลเท่านั้นในฉนวนกาซ่า พลเรือนชาวปาเลสไตน์ที่นั่นก็กำลังอยู่ในสถานการณ์ที่ลำบากอย่างยิ่งหลังอิสราเอลโจมตีอย่างหนักและต่อเนื่องเป็นวันที่ 3

วันนี้ 9 ต.ค. เป็นวันที่สามแล้วที่อิสราเอลโจมตีทางอากาศตอบโต้เข้าไปยังบริเวณฉนวนกาซา หลังกลุ่มฮามาสเปิดฉากโจมตีอิสราเอลครั้งใหญ่ การโจมตีเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงกลางคืนจนถึงช่วงรุ่งเช้า ขีปนาวุธพุ่งตรงมายังพื้นที่ฉนวนกาซาอย่างต่อเนื่อง หลายพื้นที่ได้รับความเสียหายจากการโจมตีจนเกิดควันไปทั่ว

ขณะนี้หลายอาคารในฉนวนกาซาตกอยู่ในสภาพที่พังทลายกลายเป็นซากปรักหักพัง พื้นถนนเกลื่อนไปด้วยเศษซากอิฐจากอาคารต่างๆ ที่เสียหาย ไม่เว้นแม้แต่ส่วนที่เป็นที่อยู่อาศัยหรือร้านค้าต่างๆ

จุดหนึ่งที่ถูกโจมตีทางอากาศเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมาตามเวลาท้องถิ่น คือค่ายผู้ลี้ภัยของชาวปาเลสไตน์ อาคารและบริเวณโดยรอบได้รับความเสียหายอย่างมากจากการโจมตี จนประชาชนในพื้นที่ต้องเข้ามาช่วยอพยพผู้ลี้ภัยที่ติดอยู่ในซากอาคาร

ประชาชนผู้เห็นเหตุการณ์ เล่าว่า การโจมตีเกิดขึ้นโดยไม่มีสัญญาณเตือนก่อนและเป็นเครื่องบิน F-16 ที่บินเข้ามาโจมตีในพื้นที่คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

ล่าสุดจำนวนผู้เสียชีวิตจากสงครามครั้งนี้พุ่งสูงถึง 1,100 รายแล้ว โดยยอดผู้เสียชีวิตในอิสราเอลล่าสุดอยู่ที่ 700 ราย ส่วนในฉนวนกาซา มีรายงานว่าขณะนี้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 400 รายแล้ว

ในขณะที่สงครามระหว่างฮามาสกับอิสราเอลกำลังดำเนินไปอย่างดุเดือดเมื่อคืนที่ผ่านมา คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้เปิดประชุมด่วนเพื่อหาทางลดระดับความตึงเครียดของสงครามลง

คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติหรือ UNSC ได้เปิดวาระการประชุมฉุกเฉินเพื่อหารือเกี่ยวกับสงครามระหว่างอิสราเอลและกลุ่มฮามาส การประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมแบบปิด โดยมีรายงานออกมาว่าผู้แทนจากชาติสมาชิกของ UNSC ทั้ง 15 ชาติใช้เวลาประชุมทั้งหมด 1 ชั่วโมง 30 นาที รวมถึงรับฟังการชี้แจงสถานการณ์จาก ธอร์ เวนเนสลันด์ ผู้ประสานงานพิเศษสหประชาชาติเพื่อกระบวนการสันติภาพในตะวันออกกลาง

 ฮามาส-อิสราเอล ปะทะเดือดวันที่ 3 ผู้เสียชีวิตทะลุหลักพัน

อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมยังไม่สามารถออกแถลงการณ์ร่วมกันได้เนื่องจากชาติสมาชิกเห็นต่างกัน บางชาติสมาชิกไม่เห็นด้วยที่จะให้มีการใส่ข้อความประณามกลุ่มฮามาสในแถลงการณ์

โรเบิร์ต วูด รองเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำสหประชาชาติ ให้สัมภาษณ์ว่า มีหลายประเทศในที่ประชุมที่ต้องการประณามฮามาส แต่ถูกขวางจากบางประเทศ

สำนักข่าวอัล จาซีรา รายงานว่า หนึ่งในประเทศที่ไม่เห็นด้วยคือ รัสเซีย โดยในที่ประชุม รัสเซียต้องการให้แถลงการณ์ร่วมมีลักษณะกว้างๆ มากกว่าที่จะมุ่งเป้าประณามกลุ่มฮามาส อย่างไรก็ตาม วาสซิลี เนเบนเซีย เอกอัครราชทูตรัสเซียประจำสหประชาชาติได้ออกมาแย้งระหว่างตอบคำถามต่อสื่อว่า ไม่เป็นความจริงที่รัสเซียไม่ประณามการโจมตี เพราะรัสเซียประณามทุกการโจมตีที่พลเรือนได้รับผลกระทบ พร้อมระบุว่ารัสเซียยังยืนยันจุดยืนที่ต้องการให้ทั้งสองฝ่ายหยุดยิงทันทีและเริ่มกระบวนการเจรจาหาทางออก

นอกจากจากเวทีของที่ประชุมคณะมนตรีความมั่นยูเอ็นซึ่งเป็นองค์กรที่มีอำนาจมากที่สุดของสหประชาชาติ ที่ไม่สามารถแม้แต่จะออกแถลงการณ์ร่วมกันเพื่อประณามฮามาสได้แล้ว อีกท่าทีที่น่าสนใจมาจากอิหร่าน

เมื่อคืนที่ผ่านมา ประธานาธิบดีเอบราฮิม ไรซี ของอิหร่าน ได้กล่าวระหว่างการประชุมคณะรัฐมนตรีว่า ได้ส่งสารไปถึงกลุ่มฮามาสเพื่อแสดงความยินดีถึงความสำเร็จในการยืนหยัดต่อต้านระบบไซออนนิสต์ของอิสราเอล และระบุว่าอาหรับทั้งโลกควร ร่วมเฉลิมฉลองชัยชนะในครั้งนี้

ทำไมอิหร่านจึงประกาศสนับสนุนการกระทำของกลุ่มฮามาสที่ไปโจมตีอิสราเอล อิสราเอลเคยเป็นมิตรที่ดีกับอิหร่าน แต่ทั้งคู่กลายมาเป็นศัตรูหลังอิหร่านเกิดการปฏิวัติอิสลามเมื่อปี 1979 เมื่ออยาตุลเลาะห์ โคมัยนี ผู้นำการปฏิวัติของอิหร่านประกาศสนับสนุนการต่อสู้ของปาเลสไตน์อย่างหนักแน่น

ในช่วงเวลาดังกล่าว องค์กรที่มีบทบาทในการเรียกร้องสิทธิชาวปาเลสไตน์คือ องค์กรปลอดปล่อยปาเลสไตน์หรือ PLO ซึ่งนำโดยยัสเซอร์ อาราฟัต จุดยืนของอิหร่านทำให้อิสราเอลไม่พอใจ เพราะมองว่า PLO คือองค์การก่อการร้ายอิสราเอลและอิหร่านจึงกลายเป็นศัตรูคู่แค้นนับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

ในวันที่อิสราเอลเร่งพัฒนาศักยภาพทางการทหารเนื่องจากแวดล้อมไปด้วยโลกอาหรับซึ่งถือเป็นเป็นศัตรู อิหร่านก็ทำบ้างด้วยการเริ่มต้นพัฒนาโครงการอาวุธนิวเคลียร์ และแน่นอนว่า อิสราเอลพยายามทำทุกทางเพื่อขัดขวาง

ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา มีนักวิทยาศาสตร์ชาวอิหร่านที่เกี่ยวข้องกับโครงการอาวุธนิวเคลียร์ถูกลอบสังหารแล้วอย่างน้อย 4 ราย คนที่โดดเด่นที่สุดคือ โมห์เซน ฟากรีซาเดย์ นักวิทยาศาสตร์ด้านนิวเคลียร์ระดับแนวหน้าของอิหร่านที่ถูกลอบสังหารเมื่อปี 2020 หรือ 3 ปีที่แล้ว

ท่ามกลางความตึงเครียดระหว่างอิสราเอลและฮามาสที่ยังไม่มีทีท่าว่าจะลดระดับลง ก็เริ่มมีความเคลื่อนไหวจากสหรัฐฯ

ล่าสุดมีรายงานว่าสหรัฐฯ กำลังส่งกองเรือบรรทุกเครื่องบินรบมุ่งหน้าไปยังบริเวณใกล้ๆ อิสราเอลแล้ว ลอยด์ ออสติน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ เปิดเผยเมื่อช่วงบ่ายวานนี้ (8 ต.ค.) ว่าได้สั่งให้กองเรือบรรทุกเครื่องบินรบ “ยูเอสเอส เจอร์ราลด์ อาร์ ฟอร์ด แคริเออร์ สไตรก์ กรุ๊ป” (USS Gerald R. Ford Carrier Strike Group) เดินทางไปยังทะเลเมดิเตอเรเนียนตะวันออกใกล้กับอิสราเอล

โดยกองเรือดังกล่าวมีเรือลาดตระเวนติดขีปนาวุธชั้น “ติคอนเดโรกา” (Ticonderoga class) จำนวน 1 ลำ และเรือพิฆาตติดขีปนาวุธชั้น อาร์ลีห์ เบิร์ก (Arleigh Burke class) จำนวน 4 ลำ ร่วมเดินทางไปด้วยรัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ ยังระบุด้วยว่า ได้ดำเนินการเสริมกำลังฝูงบินรบต่าง ๆ ของกองทัพอากาศสหรัฐฯในภูมิภาคดังกล่าว ทั้งฝูงบิน F-35, F-15, F-16, และ A-10

โดยรัฐบาลสหรัฐฯ พร้อมส่งอุปกรณ์เพิ่มเติมให้แก่อิสราเอลทันที รวมถึงเครื่องกระสุน ซึ่งรัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ คาดว่าความช่วยเหลือชุดแรกจะเดินทางไปถึงอิสราเอลในเร็วๆ นี้

ขณะเดียวกัน มีรายงานว่ารัฐบาลสหรัฐฯ ยังเตรียมแผนการต่างๆ สำหรับการอพยพพลเมืองอเมริกันที่ไม่ใช่ทหารออกจากอิสราเอล แม้จะยังไม่มีคำสั่งใดๆ หรือการตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็ตาม

“กลุ่มฮามาส” คือใคร? มีจุดประสงค์อะไรจึงต้องโจมตีอิสราเอล?

สภาพอากาศวันนี้ ฝนถล่ม 54 พื้นที่ เหนือ-อีสาน ฝนตกหนักถึงหนักมาก!

เปิดปฏิทินวันหยุดตุลาคม 2566 เช็กวันหยุดราชการ-วันสำคัญ

You May Also Like

More From Author