15 กันยายน “วันศิลป์ พีระศรี” บิดาแห่งวงการศิลปะ ผู้วางรากฐานศิลปากร

ว่ากันว่า “ศิลปะ” เป็นทั้งเครื่องกล่อมเกลาจิตใจ เป็นช่องทางแสดงความคิดสร้างสรรค์ เป็นอัตลักษณ์ของชนชาติ เป็นกระทั่งเครื่องมือขับเคลื่อนอารมณ์และความคิดดังนั้นจึงปฏิเสธไม่ได้ว่า ศิลปะ เป็นหนึ่งในเครื่องมือหรือกระทั่งปัจจัยที่สำคัญของมนุษยชาติซึ่งจะขาดหายไปไม่ได้ แม้แต่ในประเทศไทยเอง ก็ถึงกับมีการกล่าวว่า “เมืองใดไร้ศิลป์โสภณ เมืองนั้นไม่พ้นเสื่อมทราม” (จากบทร้อยกรอง “หัวใจเมือง” ของถนอม อัครเศรณี)

ครม.เศรษฐา แถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภา วันแรก 11 ก.ย. 2566

ประกาศแจ้งจ่ายเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด "เข้าบัญชี 18 ก.ย.2566" แน่นอน

เมื่อพูดถึงศิลปะในไทย บุคคลสำคัญท่านหนึ่งที่มีคุณูปการในด้านนี้ต่อไทยอย่างใหญ่หลวง คงไม่พ้น “ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี” ผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งศิลปะร่วมสมัยไทย”

ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี เดิมชื่อ “คอร์ราโด เฟโรชี” เป็นชาวอิตาลี เกิดเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2435 ในเขตซานโจวานนี (San Giovanni) เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี เป็นบุตรของ อาตูโด เฟโรชี และซานตินา เฟโรชี

แม้ที่บ้านจะประกอบธุรกิจการค้า แต่ด้วยความที่เมืองฟลอเรนซ์เป็นเมืองที่ศิลปะเฟื่องฟูมากของอิตาลี ทำให้คอร์ราโดมีความสนใจในศิลปะมาตั้งแต่เด็ก ถึงขั้นไปขอสมัครเป็นผู้ช่วยของศิลปินหลายท่านในเมือง

คอร์ราโดต้องเก็บเงินเองเพื่อจะเข้าศึกษาต่อที่สถาบันศิลปแห่งนครฟลอเรนซ์ (Accademia di Belle Arti di Firenze) เพราะที่บ้านไม่เห็นด้วยที่เขาจะเป็นศิลปิน โดยศึกษาหลักสูตร 7 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2451-2458

เขาสำเร็จการศึกษาในวัย 23 ปีด้วยเกียรตินิยมอันดับ 1 และได้รับประกาศนียบัตรช่างปั้นช่างเขียน ต่อมาได้สอบคัดเลือกและได้รับตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์ โดยมีความรอบรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ วิจารณ์ศิลป์และปรัชญา และเชี่ยวชาญศิลปะแขนงประติมากรรมและจิตรกรรมเป็นอย่างมาก

ศาสตราจารย์คอร์ราโดมีผลงานชนะเลิศการประกวดออกแบบงานศิลป์หลายครั้ง เช่น การประกวดออกแบบอนุสาวรีย์ผู้กล้าสงครามโลกครั้งที่ 1 ตั้งอยู่ที่เกาะเอลบาของอิตาลี เป็นต้น ซึ่งการประกวดออกแบบงานศิลป์ลักษณะนี้เอง ที่ชักนำคอร์ราโดมาสู่สยามในที่สุด

ในปี พ.ศ. 2566 เขาชนะการประกวดการออกแบบเหรียญเงินตราสยามที่จัดขึ้นในยุโรป และต้องการหาที่ทำงานใหม่ ประกอบกับพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ของไทยในช่วงเวลานั้น ทรงมีพระราชประสงค์ต้องการบุคลากรที่เชี่ยวชาญในด้านศิลปะตะวันตกมารับราชการเป็นช่างปั้นและทำการฝึกสอนช่างไทยให้มีความสามารถในการสร้างงานประติมากรรมแบบตะวันตกได้ ทางรัฐบาลอิตาลีจึงได้ยื่นข้อเสนอโดยการส่งคุณวุฒิและผลงานของศาสตราจารย์คอร์ราโดให้สยามพิจารณา และได้รับการการคัดเลือกให้มาปฏิบัติงานในสยาม

ศาสตราจารย์คอร์ราโดรับราชการเป็นช่างปั้นประจำกรมศิลปากร กระทรวงวัง เมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2466 ขณะมีอายุได้ 32 ปี และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอาจารย์สอนวิชาช่างปั้นหล่อ แผนกศิลปากรสถานแห่งราชบัณฑิตยสภา ในปี พ.ศ. 2469

แรกเริ่มศาสตราจารย์คอร์ราโดเป็นผู้วางหลักสูตรอบรมให้แก่ผู้ที่สนใจในวิชาประติมากรรมโดยไม่เก็บค่าธรรมเนียมใด ๆ ซึ่งต่อมาบุคคลที่ผ่านการอบรมก็ได้เป็นหนึ่งในกำลังสำคัญของกิจการงานปั้นหล่อของกรมศิลปากร ทำให้ทางราชการตัดสินใจขอให้ศาสตราจารย์คอร์ราโดวางหลักสูตรการศึกษารูปแบบเดียวกันกับสถาบันศิลปะในยุโรป

ศาสตรจารย์คอร์ราโดยังได้วางหลักสูตรวิชาจิตรกรรมและประติมากรรมขึ้น เพื่อใช้ในโรงเรียนประณีตศิลปกรรม สังกัดกรมศิลปากร

ภายหลังโรงเรียนประณีตศิลปกรรมได้รวมเข้ากับโรงเรียนนาฏยดุริยางคศาสตร์และเปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนศิลปากรแผนกช่าง” และพัฒนาการเรียนการสอนเรื่อยมา

1 กันยายน “วันยกย่องแมวส้ม” วันพิเศษที่อยากให้ตกหลุมรักเจ้าเหมียว

3 กันยายน “วันเกิดโดราเอมอน” ร่วมฉลองให้หุ่นยนต์แมวขวัญใจคนทั่วโลก

“กันยายน”เที่ยวไหนดี เล่นทะเลอ่าวไทย แอ่วลำพูนชมประเพณีหนึ่งเดียวในโลก

ในปี พ.ศ. 2485 อธิบดีกรมศิลปากรดำเนินการปรับปรุงหลักสูตร และตราพระราชบัญญัติ ยกฐานะโรงเรียนศิลปากรขึ้นเป็น มหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2486 โดยจัดตั้งคณะจิตรกรรมและประติมากรรม ขึ้นเป็นคณะวิชาแรก ซึ่งศาสตราจารย์คอร์ราโดก็ได้ดำรงตำแหน่งคณบดีคนแรกของคณะจิตรกรรมควบคู่ไปกับตำแหน่งอาจารย์ผู้สอนอีกด้วย ทำให้ท่านถือเป็นหนึ่งในผู้วางรากฐานให้กับมหาวิทยาลัยศิลปากร

ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 พ.ศ. 2485 ประเทศอิตาลียอมจำนนต่อฝ่ายสัมพันธมิตร ชาวอิตาลีในประเทศไทยจึงตกอยู่ภายใต้การควบคุมตัวของญี่ปุ่น ซึ่งศาสตราจารย์คอร์ราโดเองก็ถูกควบคุมตัวไว้เช่นกัน

แต่รัฐบาลไทยได้เล็งเห็นถึงความสามารถท่านและได้ขอควบคุมตัวศาสตราจารย์คอร์ราโดเอาไว้เองเพื่อคุ้มครองท่านไว้ ไม่ต้องไปถูกเกณฑ์เป็นเชลยศึก และได้มีการดำเนินขอโอนสัญชาติจากสัญชาติอิตาลีมาเป็นสัญชาติไทย และเปลี่ยนชื่อจาก คอร์ราโด เฟโรชี มาเป็น “ศิลป์ พีระศรี” นับแต่นั้นเป็นต้นมา

ศาสตราจารย์ศิลป์ได้อุทิศชีวิตให้กับวงการศิลปะไทย และเป็นผู้สร้างสรรค์ผลงานที่เราคุ้นเคยกันดี เช่น

  • อนุสาวรีย์ปฐมบรมราชานุสรณ์ปฐมกษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เชิงสะพานพุทธฯ
  • อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี จ.นครราชสีมา
  • อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนิน
  • พระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สวนลุมพินี
  • อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
  • พระศรีศากยะทศพลญาณ ประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์ พุทธมณฑล

คำพูดจาก เว็บสล็อตแท้

ในปี พ.ศ. 2505 ท่านได้ล้มป่วยลงด้วยอาการโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ก่อนจะถึงแก่อนิจกรรมในวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2505 ที่โรงพยาบาลศิริราช ด้วยภาวะหัวใจล้มเหลวภายหลังการเข้ารับการผ่าตัดมะเร็งลำไส้ใหญ่ สิริอายุได้ 69 ปี 241 วัน

อัฐิของท่านถูกแยกไปสามส่วนด้วยกันคือที่สุสานชิมิเตโร เดญลี อัลลอรี เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี ส่วนที่สองถูกบรรจุในอนุสาวรีย์ศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี ณ ลานศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี ในมหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ และส่วนที่สามถูกเก็บไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป พีระศรี อนุสรณ์ ในกรมศิลปากร

ด้วยคุณูปการที่ ศาตราจารย์ ศิลป์ ได้มอบให้ไว้ จึงมีการกำหนดให้วันที่ 15 กันยายน ของทุกปี ซึ่งตรงกับวันเกิดของท่าน เป็น “วันศิลป์ พีระศรี” เพื่อรำลึกถึงสิ่งที่ท่านได้ให้ไว้กับสังคมไทย ที่ยังยืนยาวมาจนถึงวันนี้ และจะยังคงยืนยาวต่อไปอีกในอนาคต แม้ท่านจะไม่อยู่แล้วก็ตาม ดังวาทะของท่านที่ว่า “ศิลปะยืนยาว ชีวิตสั้น (Ars longa, Vita brevis)”

ภาพจาก : ShutterStock และหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี

ส่องสีใหม่ "iPhone 15" และ "iPhone 15 Pro" ก่อนเปิดตัวกันยายนนี้

ประกาศรายชื่อวอลเลย์บอลหญิงไทย "นุศรา" นำทัพชุดลุยศึกคัดโอลิมปิก 2024

 15 กันยายน “วันศิลป์ พีระศรี” บิดาแห่งวงการศิลปะ ผู้วางรากฐานศิลปากร

You May Also Like

More From Author