วันที่ 20 ก.พ. น.ส.สุวรรณี เจษฎาศักดิ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน 1 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ผลดำเนินงานธนาคารพาณิชย์ปี 65 หนี้ด้อยคุณภาพ หรือเอ็นพีแอลลดจากการปรับโครงสร้างหนี้ และบริหารจัดการคุณภาพหนี้ รวมทั้งธนาคารได้มีการตัดขายหนี้ออกไปให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ (เอเอ็มซี) และมีขายออกให้กับบริษัทร่วมทุนเจวี เอเอ็มซีด้วย ซึ่งได้รับซื้อหนี้เสียไปจำนวนหนึ่งแล้ว ทำให้ยอดหนี้เอ็นพีแอลลดลงจาก 2.77% ในไตรมาส 3 ปี 65 เหลือ 2.73% ในไตรมาสที่ 4 ปี 65 หรือมียอดหนี้ 4.99 แสนล้านบาท
ทั้งนี้ ธปท. ได้ติดตามสถานการณ์หนี้ของไทย จากข้อมูลล่าสุดไตรมาส 3 ปี 65 หนี้ครัวเรือนไทยอยู่ที่ 86.8% ต่อจีดีพี โดยคาดว่าปีนี้ ครัวเรือนอาจได้รับผลกระทบจากค่าครองชีพและดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ทำให้อาจเห็นหนี้ด้อยคุณภาพ หรือเอ็นพีแอลทยอยเพิ่มขึ้นได้ แต่ไม่ถึงกับน่ากังวลและจะไม่เกิดหน้าผาเอ็นพีแอล เพราะในปีนี้เศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวดีขึ้น และประเทศจีนได้เปิดประเทศ ทำให้มีนักท่องเที่ยวจีนเข้ามาไทยมากขึ้นทำให้สถานการณ์โดยรวมปรับดีขึ้นตามไปด้วย
“แนวโน้มเอ็นพีแอล สถานการณ์เทียบช่วงโควิดถือว่าปรับตัวดีขึ้น และบางธุรกิจก็ฟื้นตัวแล้วบางกลุ่ม มีการฟื้นตัวดีขึ้นชัดเจน ส่วนเอ็นพีแอลที่จะทยอยขึ้นนั้นโดยธรรมชาติของการปล่อยสินเชื่อก็จะมีหนี้เสียเพิ่มขึ้นอยู่แล้ว ซึ่งจะมาจากค่าครองชีพที่สูงและดอกเบี้ยที่สูงในปีนี้ แต่เรื่องดอกเบี้ย ธปท. จะทยอยปรับขึ้นไม่ให้กระทบหนัก เพราะยังมีบางกลุ่มที่รายได้ยังไม่กลับมาฟื้นตัวเต็มที่จากช่วงโควิด”
นอกจากนี้ ธปทคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. อยู่ระหว่างพิจารณาต่ออายุมาตรการทั้งมาตรการสินเชื่อเพื่อการฟื้นฟู ที่ได้ปรับเปลี่ยนเป็นสินเชื่อเพื่อการปรับตัว โดยจะสามารถขยายต่อไปได้อีก 1 ปี และมาตรการพักทรัพย์พักหนี้ ซึ่งทั้ง 2 มาตรการจะหมดอายุในวันที่ 9 เม.ยคำพูดจาก สล็อตเว็บตรงฝาก. นี้ โดยเร็วๆ นี้ จะมีการเปิดเผยออกมาว่าจะต่ออายุหรือไม่ ส่วนมาตรการแก้หนี้ระยะยาวจะหมดอายุสิ้นปี 66 เชื่อว่าแม้มาตรการจะหมดแต่ธนาคารพาณิชย์ก็ยังให้ความช่วยเหลือลูกหนี้อยู่ และ ธปท. ได้เน้นย้ำให้เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงินและนอนแบงก์ให้ช่วยเหลือลูกค้าปรับโครงสร้างหนี้ให้สอดคล้องกับความสามารถชำระหนี้หรือรายได้ในปัจจุบัน
“คาดว่าวันใกล้หมดอายุวันที่ 9 เม.ย. นี้ จะมีการเร่งดีลพักทรัพย์พักหนี้ จากตอนนี้มียอดอนุมัติเข้าร่วมโครงการ 6.5 หมื่นล้านบาท ถือว่าเกินจากเป้าหมายที่ตั้งไว้ 4-5 หมื่นล้านบาท ด้านสินเชื่อเพื่อการปรับตัวสถาบันการเงินมีส่งโปรดักท์โปรแกรมมา 16 แห่ง และได้ปล่อยสินเชื่อแล้ว 9 แห่ง ยอดยังไม่เยอะ แค่หลักพันกว่าล้านบาท ส่วนใหญ่ปรับตัวไปสู่ดิจิทัล พัฒนานวัตกรรมทำสมาร์ทฟาร์มมิ่ง และไปสู่สีเขียวสู่พลังงานทดแทน ติดตั้งโซลาร์เซลล์ เป็นต้น”.